Patient Education

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

Home » โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
(Carpal tunnel syndrome)

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือคืออะไร?

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเป็น กลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทที่พบบ่อยที่สุดโดย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า เกิดจากการ กดทับเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ซึ่งอยู่ บริเวณข้อมือโดยเส้นประสาทนี้จะวางตัวอยู่ในช่อง ที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ (carpal tunnel) โดยธรรมชาติแล้ว เส้นประสาทนี้มีหน้าที่รับความรู้สึกของนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้วด้านที่ติดกับนิ้วกลาง และยังเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณโคน นิ้วหัวแม่มือ (thenar muscles) ด้วย เมื่อเกิดการกดทับเส้นประสาทมีเดียนจึงทาให้การทำงานของ เส้นประสาทดังกล่าวผิดปกติไป

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มีอาการอย่างไร ?

อาการของโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือมีอาการหลายระดับ ในระยะแรกผู้ป่วยจะมี อาการปวดหรือชาบริเวณนิ้วดังกล่าวและอาจรู้สึก เหมือนโดนไฟช๊อตวิ่งไปตามปลายนิ้วได้ โดยอาจจะมีอาการชาช่วงกลางคืนหรือรุ่งเช้าตอนตื่นนอน เมื่อสะบัดมือจะมีอาการดีขึ้น หรือมีอาการเฉพาะเวลาใช้งานมือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ

หากการกดทับเส้นประสาทดำเนินต่อไปเป็นเวลานานหรือรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกชาตลอดเวลา และอาจมีภาวะกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มืออ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อลีบได้

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ สามารถวินิจฉัยได้อย่างไร ?

โดยทั่วไปโรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์หรือแพทย์ทั่วไปที่มีความชำนาญ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งตรวจ วินิจฉัยด้วยเครื่องมือพิเศษ เว้นแต่แพทย์สงสัย ภาวะอื่นที่มีอาการคล้ายเคียงกัน

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มีสาเหตุจากอะไร ?

สาเหตุของโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มีหลายสาเหตุ ได้แก่

  • ปัจจัยทางกายวิภาคที่ทาให้ช่องของอุโมงค์ ข้อมือแคบลงจึงทาให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดเบียดมากขึ้น เช่นภาวะกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อนบริเวณข้อมือ
  • การใช้งานมือในลักษณะที่ต้องกำมือนานๆ, การใช้งานข้อมือในท่าทางซ้ำๆ หรืองานที่มีแรงสั่นสะเทือนส่งถึงมือ
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร จะมีโอกาสเกิดภาวะนี้มากขึ้น โดยอาการมักจะทุเลาลงหลังคลอดหรือเลิกให้นมบุตร
  • โรคเรื้อรังบางอย่างจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ภาวะไตวาย เป็นต้น

 

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ รักษาอย่างไร ?

การรักษาขึ้นกับสาเหตุอาการความรุนแรงและระยะเวลาที่เป็นโรค เบื้องต้นแพทย์จะพิจารณาหา สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย และรักษาสาเหตุที่มีส่วนทำให้เกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องกำมือนานๆ หรือมีการขยับข้อมือมากๆ
  • แช่มือในน้ำอุ่น เป็นระยะเวลา10-15นาที ทุกวัน (ควรระวังอุณหภูมิของน้ำ ไม่ให้ร้อนเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการชามาก)
  • หลีกเลี่ยงการใสส่ายรัดข้อมือหรือนาฬิกา ที่แน่นเกินไป

นอกเหนือจากการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมแล้ว อาจจะพิจารณาแบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การรักษาโดยไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด

แพทย์จะพิจารณารักษาโดยไมผ่าตัดใน ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และไม่มีภาวะกล้ามเนื้อลีบหรืออ่อนแรง โดยมีวิธีต่างๆ ดังนี้

  • การใช้ยาลดการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) และการรับประทานวิตามินบี เพื่อบำรุงเส้นประสาท
  • การดามข้อมือ (wrist sprint) ในเวลากลางคืน เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ
  • การฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid injection) บริเวณข้อมือเพื่อลดการอักเสบและลดภาวะบวมของเส้นประสาทมีเดียน ซึ่งมักได้ผลดี แต่ผู้ป่วยอาจกลับมามีอาการชาได้อีกในระยะเวลา 3-6 เดือน โดยแพทย์อาจพิจารราฉีดยาซ้ำได้อีก แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้ง


การรักษาโดยการผ่าตัด

แพทย์จะพิจารณารักษาโดยการผ่าตัดในผู้ป่วย ที่มีโรครุนแรงมีกล้ามเนื้อลีบหรือรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล หรือกลับมาเป็นซ้ำ โดยการผ่าตัดมีเป้าหมายที่จะตัดพังผืดของอุโมงค์ข้อมือ เพื่อเพิ่มพื้นที่และลดการกดทับเส้นประสาทมีเดียน

การผ่าตัดสามารถทาได้โดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ โดยทั่วไปแผลผ่าตัดจะมีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร หลังผ่าตัดแพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วย ดามข้อมือให้อยู่นิ่งๆเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ควรระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ และมาตรวตติดตามอาการ เพื่อตัดไหมที่ 10-14 วันหลังผ่าตัด

หลังผ่าตัดผู้ป่วยมักจะมีอาการดี ขึ้นบางส่วนทันที แต่อาจจะไม่หายเป็นปกติทั้งหมด เนื่องจากการฟื้นตัวของเส้นประสาทจำเป็นต้องเวลาพอสมควร เมื่อแผลแห้งดีแล้วทำการนวดเบาๆ บริเวณแผลผ่าตัด เพื่อลดอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด และทำให้แผลผ่าตัดนุ่มลง

จัดทำโดย สถาบันออร์โธปิดิกส์
รพ.เลิดสิน กรมการแพทย์