มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน มีอุบัติการเกิดน้อยเมื่อเทียบกับ มะเร็งของอวัยวะอื่นๆในร่างกาย โดยพบ ได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของมะเร็งทุกชนิด ประมาณ 3.2 ราย ต่อประชากร 1 แสนคน ร้อยละ 40 พบใน ผู้ป่วยอายุมากกว่า 55 ปี ตําแหน่งที่พบได้บ่อยคือ แขนและขา ปัจจุบันพยาธิกําเนิดของมะเร็ง เนื้อเยื่ออ่อนยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน
เนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) หรืออาจเรียก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
ได้แก่ เนื้อเยื่อในกลุ่ม กล้ามเนื้อ หลอดเลือด ท่อ สาย หลอดน้ําเหลือง เอ็น และเส้นประสาท ซึ่งเนื้อเยื่อในกลุ่มนี้เมื่อเกิดเป็นโรคมะเร็งจะมีธรรมชาติของโรคคล้ายคลึงกัน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยง อาการ การวินิจฉัย แนวทางการรักษา ความรุนแรงของโรค การตรวจคัดกรอง และการป้องกัน
ดังนั้นทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งจึงจัดให้เป็นโรครวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันและเมื่อเป็นโรค มะเร็งจะเรียกกันว่า “โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน หรือ โรคมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Soft tissue sarcoma หรือ Connective tissue sarcoma)” แต่นิยมเรียกว่า โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน หรือ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีหลากหลายชนิด แต่ทุกชนิดเป็นเซลล์มะเร็งที่เรียกว่า ซาร์โคมาร์ (Sarcoma)
อาการที่พบบ่อยของโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คือ มีก้อนเนื้อโตผิดปกติใน บริเวณ/ส่วนไหนของร่างกายก็ได้ มักโตเร็ว ไม่ปวด ไม่เจ็บ โดยเฉพาะก้อนที่ขนาดใหญ่กว่า 5 ชม. คลําได้ชัดเจนบริเวณผิวหนัง
เมื่อโรคมะเร็งนี้เกิดในเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น แขน ขา ลําตัว เมื่อโรคลุกลาม มาก ก้อนเนื้ออาจแตกเป็นแผลเรื้อรัง เลือดออก แผลอาจติดเชื้อ และเกิดอาการเจ็บปวดที่ก้อนเนื้อได้
แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจคลําก้อนเนื้อและต่อมน้ําเหลืองต่างๆ การตรวจภาพเน้ือเยื่อ หรืออวัยวะที่เกิดโรคด้วยการ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ และ / หรือ คลื่นแม่เหล็กเอมอาร์ไอ (MRI) แต่การวินิจฉัยโรคที่แน่นอน คือ การ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
นอกจากนั้น คือ การตรวจต่างๆเพื่อประเมินระยะโรคและสุขภาพผู้ป่วย เช่น การตรวจเลือด เพื่อดูการทํางาน ของไขกระดูก ตับ และของไต การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด เพื่อดูการแพร่ กระจายของโรคสู่ปอด และการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมตามอาการของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจสแกนกระดูกเพื่อดูโรคแพร่กระจายเข้ากระดูก เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดกระดูกส่วนต่างๆมาก
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่1 ก้อน/แผลมะเร็งเป็นเซลล์ชนิดแบ่งตัวตำ่และยังไม่มีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ําเหลืองหรือ เนื่อยื่อข้างเคียง
ระยะที่2 ก้อน/แผลมะเร็งขนาดไม่เกิน5ซม.ชนิดเซลล์มะเร็งแบ่งตัวสูงหรือก้อนมะเร็งขนาด ใหญ่กว่า 5 ซม. ชนิดเซลล์มะเร็งแบ่งตัวตำ่ และทั้งหมดยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ําเหลืองหรือเนื้อเยื่อ อ่อนข้างเคียงใกล้กับก้อนมะเร็ง
ระยะที่3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า5ซม.และ/หรือมีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ําเหลืองใกล้กับก้อน มะเร็ง หรือเนื้อเยื่ออ่อนใกล้กับก้อนมะเร็ง
ระยะที่4 โรคมะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ําเหลืองที่อยู่ไกลจากก้อนมะเร็งและ/หรือแพร่กระจาย ทางกระแสเลือดเข้าสู่อวัยวะต่างๆที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งเมื่อมักแพร่กระจายเข้าสู่ปอด
วิธีหลักในการรักษาโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน คือ การผ่าตัดก้อนเนื้อ ต่อจากนั้นพิจารณาจากการ ผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้หมดหรือไม่ ระยะของโรคมะเร็ง และชนิดของเซลล์มะเร็ง เพื่อการรักษาต่อเนื่อง เพิ่มเติมด้วยรังสีรักษา และ / หรือยาเคมีบําบัด ส่วนยารักษาตรงเป้ายังอยู่ในการศึกษา
ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ขึ้นกับวิธีรักษา การผ่าตัด เช่น การสูญเสียเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะ การเสียเลือด แผลผ่าตัดติดเชื้อและเสี่ยงต่อการดม ยาสลบ รังสีรักษา คือ ผลข้างเคียงต่อผิวหนังและเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มโอกาสเกิดกระดูกหักและการ บวมแขน หรือขา ยาเคมีบําบัด คือ อาการคลื่นไส้อาเจียน ผมร่วงภาวะซีด และการติดเชื้อจากภาวะ เม็ดเลือดขาวต่ำ
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นโรคมีความรุนแรงปานกลาง โอกาสรักษาได้ หายขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดเซลล์มะเร็ง ขนาดก้อนมะเร็ง การผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้หมด
ตําแหน่งเกิดโรค (บางตําแหน่งผ่าตัดไม่ได้) การดื้อต่อรังสีรักษาและต่อยาเคมีบําบัดของเซลล์ มะเร็ง อายุและสุขภาพผู้ป่วย
อัตรารอดที่ 5 ปีหลังการรักษา
โรคระยะที่ 1 ประมาณ 80-90%
โรคระยะที่ 2 ประมาณ 60-70%
โรคระยะที่ 3 ประมาณ 20-50%
โรคระยะที่ 4 ประมาณ 0-10%
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน หรือ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือการสังเกตตนเอง เมื่อพบว่ามีก้อนเนื้อผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรค แต่เนิ่นๆ