Patient Education

โรคกระดูกพรุน

Home » โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเกิดจากการที่ โครงสร้างของกระดูกทั่วร่างกายมีการเสื่อมสภาพ มีการสร้างที่ลดลง ร่วมกับมีการสลายที่มากขึ้น ส่งผลให้มวลกระดูกลดลงกระดูกจึงเปราะบาง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเมื่อเกิดการหกล้มจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการหักมากขึ้น ตำแหน่งกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนท่ีพบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณ กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก


ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน มีดังนี้
1. กรรมพันธุ์ ที่ส่งผลต่อลักษณะโครงสร้างของกระดูกดัชนีมวลกาย อายุที่เริ่มมีประจำเดือน และหมดประจำเดือน เป็นต้น
2. วัยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
3. รูปร่างที่ผอมบาง
4. การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะการขาดแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน
5. การสูบบุหรี่ หรือดื่มสุราจำนวนมากเป็นประจำ
6. การไม่ออกกำลังกาย หรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
7. การเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ และโรครูมาตอยด์ เป็นต้น
8. การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ หรือยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยาลูกกลอน หรือยาชุดแก้ปวด รวมทั้งยารักษาโรคข้ออักเสบ โรคหอบหืด เป็นต้น


อาการ

โรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการแสดง โดยทั่วไปผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แต่บางรายอาจพบว่า มีความสูงลดลงจากวัยหนุ่มสาว หากขาดการสังเกตตนเองในเรื่องความเสี่ยงต่อ
โรคกระดูกพรุน ไม่ ได้วัดส่วนสูงสม่ำเสมอ ก็มักพบโรคนี้เมื่อเกิดภาวะกระดูกหักจากแรงกระแทกที่ ไม่รุนแรง ซึ่งแท้จริงแล้วโรคกระดูกพรุนได้เกิดขึ้นมาก่อนการหักเป็นเวลานาน


การวินิจฉัย

1. ตรวจร่างกายพบอาการหลังค่อม หรือส่วนสูงลดลง
2. การถ่ายภาพรังสีบริเวณกระดูกสันหลัง จะพบว่ากระดูกบาง
3. ตรวจคัดกรองโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกหักขององค์การอนามัยโลก (Fracture Risk Assessment Tool: FRAX®) หรือแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (Khon Kaen Osteoporosis Score: KKOS) เป็นต้น
4. การตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density: BMD) ด้วยเครื่อง dual energy X-ray absorptiometry (DXA) เพื่อวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน
5. ตรวจหาสาเหตุทุติยภูมิของการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น


การรักษา
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน นอกจากนั้นควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดกระดูกพรุน การได้รับแคลเซียม และวิตามินดี ที่เพียงพอโดยมุ่งเน้นการได้รับจากสารอาหารธรรมชาติ
2. การรักษาด้วยยา แพทย์จะพิจารณายารักษาโรคกระดูกพรุนตามความรุนแรงของโรค และความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก ร่วมกับเสริมแร่ธาตุแคลเซียม และวิตามินดีอย่างเพียงพอ การรักษาโรคกระดูกพรุน ด้วยยาจะต้องกระทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเสมอจึงจะได้ผลอย่างเต็มที่


การป้องกันโรคกระดูกพรุน

1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ในปริมาณที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย
2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
3. ควรออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก และบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ วันละประมาณ 30 นาที 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ควรเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสมกับอายุ และสภาพร่างกาย เช่น
เด็ก และวัยรุ่นสามารถออกกำลังกาย โดยการเล่นกีฬาที่มีการวิ่งหรือกระโดดได้ แต่ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยการเดิน หรือไท้เก๊ก เป็นต้น
4. ควรให้ร่างกายได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ โดยการออกไปรับแสงแดดกลางแจ้งในช่วงเช้า หรือช่วงที่แดดไม่จัดเกินไป วันละประมาณ 30-45 นาที โดยให้แสงแดดสัมผัสผิวหนังโดยตรง
เป็นพื้นที่มากที่สุด และรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมัน ตับปลา ไข่ ไก่ เป็นต้น
5. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และไม่ ให้ผอม หรืออ้วนจนเกินไป ผู้ที่มีร่างกายผอมบางมักเสี่ยงกับภาวะกล้ามเนื้อน้อย และกระดูกพรุนตามมา
6. หลีกเลี่ยงการรั ประทานยาที่มีผลต่อกระดูก โดยไม่จำเป็น เช่น ยาสเตียรอยด์ หรือยาชุดแก้ปวด ยาลูกกลอน ยาขับปัสสาวะบางชนิด ยากันชัก และยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
7. รักษาหรือควบคุม อาการของโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อมวลกระดูก เช่น โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ โรคไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคไตวาย เป็นต้น

จากการที่ผู้สูงอายุที่มีโรคกระดูกพรุน เมื่อได้รับแรง กระแทกแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดกระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหกล้ม ตำแหน่ งที่พบว่าเกิดกระดูกหักได้บ่อยในผู้สูงอายุที่กระดูกพรุน ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกสะโพก ซึ่งการหักของกระดูกสะโพกจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากที่สุด เพราะทำให้เดินไม่ได้และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล