Patient Education

โรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิ

Home » โรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิ

โรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิ

คือมะเร็งกระดกูเกิดจากเซลล์กระดูกที่ เจริญเติบโตผิดปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งกระดูก ปฐมภูมิ (มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ของเนื้อเยื่อกระดูกเอง) และมะเร็งกระดูกทุติยภูมิ (มะเร็งจากที่อื่นๆ แพร่กระจายมายังกระดูก) ซึ่งเมื่อกล่าวถึง โรคมะเร็งกระดูก จะหมายถึงโรคมะเร็งปฐมภูมิเสมอและจะกล่าวถึงในบทความนี้

โรคมะเร็งกระดูก ปฐมภูมิ มีหลายชนิดเช่น

ออสตีโอซาร์โคมา(Osteosarcoma) อีวิงซาร์โค มา(Ewing’s sarcoma) และ คอนโดรซาร์โคมา

(Chondrosarcoma)แต่ท่ีพบบ่อยที่สดุคือมะเร็ง กระดูกออสตีโอซาร์โคมา(Osteosarcoma) โดย พบประมาณ 60-65% ของมะเร็งกระดูกทั้งหมด

ซึ่งมะเร็งกระดกูออสตีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) และอีวิงซาร์โคมา(Ewing’s sarcoma) มักพบในเด็กและวัยรุ่น ส่วน Chrondrosarcoma มักพบบ่อยในผู้ใหญ่


โรคมะเร็งกระดูกเกิดจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคมะเร็ง กระดูก ที่ชัดเจน แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง คือ

-กรรมพันธ์ุเด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็น มะเร็งท่ีตา (retinoblastoma)

– การฉายแสง ผ้ปู่วยที่เคยได้รับการฉายแสง มีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งกระดูกบริเวณที่ฉายแสง

– การได้รับยาเคมีบำบัดมีความเสี่ยงที่จะเกิด มะเร็งกระดูกเพิ่มขึ้น

-เนื้องอกชนิดไม่ลูกลามหรือโรคของกระดูก อื่นๆ เช่น Paget’s disease และ Fibrous dysplasia


โรคมะเร็งกระดูกมีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบวมหรือมีก้อนการปวด อาจเป็นๆ หายๆ ในระยะแรก และค่อยๆปวดมากขึ้น โดยจะปวดมากเวลากลางคืนถ้าเนื้อมะเร็งเกิดบริเวณข้อก็อาจจะมีอาการข้อบวม ข้อติดหรืออาจจะเกิดกระดูกหักได้นอกจากนี้ยังมี อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้เช่น ไข้ อ่อนเพลีย ซีด น้ำหนักลด

อย่างไรก็ตามอาการข้างต้นสามารถพบได้ใน โรคอื่น ในทางกลับกันผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระดูก บางรายก็ไม่มีอาการข้างต้น ดังนั้นถ้ามีอาการที่ กล่าวมา ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป


โรคมะเร็งกระดูกเกิดกับกระดูกส่วนไหนบ้าง?

โรคมะเร็งกระดูกเกิดได้กับกระดูกทุกชิ้นใน ร่างกาย โอกาสเกิดในด้านซ้ายและด้านขวา ใกล้เคียงกัน โรคมะเร็งออสตีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) มักเกิดกับกระดูกขาและแขน โดยเฉพาะบริเวณใกล้ๆกับข้อกระดูก โดยพบเกิดกับกระดูกต้นขาประมาณ 50% และ กระดูกแข้ง ประมาณ 30%


การวินิจฉัย

แพทย์วินิจฉยัยโรคมะเร็งกระดูก ได้จากประวัติการตรวจร่างกาย และการตรวจภาพกระดูก ด้วย เอกซเรย์ธรรมดา เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาไอ(MRI) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan) แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ การตัดชิ้นเนื้อจาก ก้อนเนื้อในกระดูกเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

และมีการตรวจอื่นๆเพื่อจัดระยะโรคมะเร็ง และเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เช่น การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) ดูภาวะซีด ดูเม็ดเลือดขาว ตรวจปัสสาวะดูการทำงานของไต ตรวจเลือดดูการทำงานของตับและไต ตรวจภาพปอดด้วย เอกซเรย์ เพื่อดูโรคปอด หัวใจ และโรคมะเร็ง แพร่กระจายสู่ปอด รวมทั้งการสะแกนภาพกระดูห ทั้งตัว (Bone scan) เพื่อหาการแพร่กระจาย ของโรคเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ซึ่งการตรวจเหล่านี้ขึ้นกับชนิดของเซลล์มะเร็ง และดุลพินิจของ แพทย์ผู้รักษา


ระยะของมะเร็งกระดูก

แบ่งระยะของมะเร็งกระดูกในระบบ Enneking’s system แบ่งเป็น

  • ระยะที่ IA เซลล์มะเร็งรุนแรงน้อย ยังไม่ออกนอกกระดูก
  • ระยะท่ี IB เซลล์มะเร็งรุนแรงน้อย ออกนอกกระดูก
  • ระยะที่ IIA เซลล์มะเร็งรุนแรงมาก ยังไม่ออกนอกกระดูก
  • ระยะที่ IIB เซลล์มะเร็งรุนแรงมาก ออกนอกกระดูก
  • ระยะที่ III มะเร็งแพร่กระจาย เช่น กระจายไปปอด


โรคมะเร็งกระดูกรักษาอย่างไร?

การรักษาหลักของโรคมะเร็งกระดูก คือการ ผ่าตัดร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา ในมะเร็งบางชนิด


การผ่าตัด

ศัลยแพทย์จะทำการตัดกระดูกที่เป็นมะเร็ง และเนื้อเยื่อรอบข้างออก หลังจากนั้นศัลยแพทย์ จะใส่เหล็กทดแทน กระดูกบริจาค หรือกระดูกเดิมที่ผ่านการฆ่าเซลล์มะเร็งแทนที่กระดูกที่ถูกตัดออกไปโดยไมจ่าเป็นต้องตัดแขนหรือขาออก แต่หากมะเร็งนั้นมีขนาดใหญ่กดเบียดหลอดเลือด หรือเส้นประสาทสำคัญ อาจจำเป็นต้องตัดแขนหรือขาบริเวณนั้นออก แล้วใส่แขนหรือขา เทียมภายหลัง

การตัดมะเร็งกระดูกและกระดูกข้างเคียงออก หลังจากตัดออก อาจใช้กระดูกบริจาค (Allograft) หรือข้อโลหะ (Endoprosthesis) มาทดแทนเพื่อใหผู้ป่วยมีขาไว้ใช้งาน


การให้ยาเคมีบำบัด

มะเร็งบางชนิดตอบสนองดีต่อการรักษาด้วย เคมีบำบัด เช่นมะเร็งกระดูกชนิดออสตีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) การให้ยาเคมีบำบัด พบว่าสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ โดยยาเคมีบำบัดจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งและลดขนาดก้อนมะเร็งเพื่อให้ผ่าตัดง่ายขึ้น ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดแตกต่างกันไป แต่ละบุคคลและขนาดของยา โดยผลข้างเคียงที่ พบเช่น เหนื่อยอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เพิ่มโอกาสเกิดการติดเชื้อ มีไข้ เป็นต้น


การใช้รังสีรักษา

การใช้รังสีรักษาคือการใช้รังสีเอ็กซ์หรือ อนุภาคอื่นๆในการทำลายเซลล์มะเร็ง ได้ผลดีในมะเร็งบางชนิดเช่น อีวิงซาร์โคมา (Ewing’s sarcoma) และยังใช้ในผู้ป่วยท่ีไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกได้หมดหรือยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในร่างกาย

ผลข้างเคียงจากรังสีรักษาได้แก่ เหนื่อย อ่อนเพลีย ผลข้างเคียงทางผิวหนัง จะสีคล้ำและด้านแข็ง


มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระดูกไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งกระดูก ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นที่ดี ที่สุด คือ การเอาใจใสข่ของผู้ปกครองและการดูแลตัวเอง คือ การสังเกตตนเอง เมื่อพบมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคแต่เนิ่นๆ


ป้องกันโรคมะเร็งกระดูกอย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งกระดูก ดังนั้นจึงเช่นเดียวกับในหัวข้อการตรวจคัดกรอง คือ การรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆดังกล่าวแล้ว เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคแต่เนิ่นๆ