Patient Education

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท

Home » โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท

Spinal Stenosis

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือ กระดูกสันหลังเสื่อมตีบรัดเส้นประสาท (โพรงกระดูกสันหลังตีบ) หรือ กระดูกทับเส้น ที่ผู้ป่วยนิยมพูดกันบ่อยๆ คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้นและการเสื่อมสภาพจะเกี่ยวข้องกับการใช้งาน การยกของหนัก ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น พบว่ามีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อกระดูกสันหลังด้านหลัง (ข้อต่อฟาเซ็ท) ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้าง กระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมา เพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดการกดทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ทาให้ปวดขาชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดพบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นก็จะทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายผู้ป่วยก็พบว่าทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน


อาการแสดงที่พบบ่อยๆ

  • มีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน
  • มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นก็จะเดินต่อไปได้ บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกหลังจะค่อยๆ ค่อมลงเวลาเดิน
  • ในผู้ป่วยบางราย พบว่ามีอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการชาขาและปลายเท้า เป็นเหน็บ
  • ผู้ป่วยบางคนจะไม่รู้สึกปวด แต่จะรู้สึกล้าๆ บริเวณขา ขาไม่มีแรง ก้าวไม่ออกเวลาเดิน อาจพบว่ามีตะคริวบริเวณน่องบ่อยๆ ขณะนอนหลับในเวลากลางคืนต้องตื่นขึ้น เนื่องจากอาการปวดน่อง หรือปวดขามาก
  • พบว่ามี 1-2 % ของผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง มีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้


การตรวจวินิจฉัย

เนื่องจากเอกซ์เรย์ธรรมดาไม่สามารถมองเห็นเส้นประสาทได้ ปัจจุบันมีการใช้ เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจดูว่ามีการกดทับเส้นประสาทที่ตำแหน่งใดบ้าง ความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาทตลอดจนการวางแผนเพื่อใช้ในการผ่าตัดรักษา


การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ลดน้ำหนักตัว และหยุดสูบบุหรี่
  • การกินยาแก้ปวด ยากระดูก ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่แพทย์ทั่วไปคุ้นเคย จนบางครั้งใช้ยานานจนทำให้เกิดผลข้างเคียง
  • การใช้เสื้อรัดเอว เพื่อพยุงหลังซึ่งอาจใช้ในระยะสั้นๆ ช่วง 1-2 สัปดาห์แรก สาหรับผู้ป่วยที่อาการปวดหลังมาก สาหรับการใช้ในระยะยาวไม่พบว่าได้ประโยชน์จากการใส่เสื้อดังกล่าว และมีผลทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ (ดังรูป 1)
  • การออกกำลังกาย ได้แก่ การเดินออกกำลังกายบนสายพาน การว่ายน้ำ การถีบจักรยาน ผู้ป่วยที่มีอายุมากอาจใช้วิธีง่ายๆโดยการนอนหงาย และยกขาที่ละข้างสลับกัน 30 – 50 ครั้ง การออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น และช่วยให้กล้ามเนื้อหลังมีความแข็งแรงขึ้นได้ (ดังรูป 2)
  • การทำกายภาพบำบัด การอบความร้อนโดยการใช้ถุงร้อน หรืออัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ตลอดจนการดึงหลัง (Lumbar traction) ซึ่งผู้ป่วยจะต้องมาทาที่แผนกกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่อาจจะทาให้อาการดีขึ้นได้ (ดังรูป 3)
  • การฉีดยาเข้าช่องประสาทไขสันหลัง (Epidural steroid injection) อาจช่วยให้อาการดีขึ้นในระยะสั้นๆ 3-6 เดือน


ข้อบ่งชี้การผ่าตัดรักษา

  • การรักษาโดยวิธีดังกล่าวข้างต้น 6-8 สัปดาห์ แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นและรบกวนการทำงานในกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
  • มีอาการมากขึ้น เช่น กล้ามเนื้อมีการอ่อนแรงมากขึ้น
  • หากมีอาการรุนแรง ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ และปัสสาวะได้ เป็นภาวะรีบด่วนที่ต้องทำการผ่าตัดแก้ไข เพื่อให้เส้นประสาทฟื้นตัวกลับมาเร็วที่สุด


การผ่าตัดรักษา

คือ การผ่าตัดเพื่อเอากระดูกงอก หรือหินปูน ที่มีการกดทับเส้นประสาทออก ส่วนใหญ่ได้ผลดี 80-90 % อาการปวดจะดีขึ้นมาก หรือลดลงเหลือน้อยมากโดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลับมาเดินได้ไกลขึ้น การผ่าตัดในอดีตในกรณีที่ต้องตัดกระดูกและหินปูนที่กดทับเส้นประสาทออก หลายๆข้อทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กระดูกสันหลังไม่มั่นคง (Unstable) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังหรือกระดูกสันหลังผิดรูปได้ ตลอดจนทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทอีก ปัจจุบันจึงมีการวิวัฒนาการที่ทันสมัย มีการใช้เหล็กดามกระดูกไว้ เหล็กที่ใช้เป็นวัสดุที่ทำจากไททาเนียมไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายไม่เกิดสนิม ทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืน เดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ หลังจากการผ่าตัดได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากได้รับการรักษาจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญในด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โอกาสที่การผ่าตัดจะถูกเส้นประสาททาให้เกิดอันตรายเป็นอัมพาต หรือเดินไม่ได้พบน้อยมาก


ตัวอย่างผู้ป่วย

ชายไทย อายุ 54 ปีปวดหลังร้าวไปขา 2 ข้างมากมา 7 ปี เดินได้ 50-100 เมตร จะปวดชาขามาก ประวัติเคยกินยามานาน ร่วมกับการทำกายภาพและฉีดยา แต่อาการไม่ดีขึ้น