มะเร็งกระดูกทุติยภูมิคืออะไร?
คือมะเร็งของอวัยวะต่างๆที่แพร่กระจายมาที่ กระดูก พบได้ถึง 50% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด มะเร็งที่มักแพร่กระจายมาได้แก่มะเร็งเต้านม, มะเร็งต่อมลุกหมาก, มะเร็งไต, มะเร็งต่อมธัยรอยด์ และมะเร็งปอด เป็นต้น ตำแหน่งที่มักกระจายมา ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน และกะโหลกศีรษะ เป็นต้น กำเนิดพยาธิของมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก เชื่อว่าเกิดจากการแพร่กระจายผ่านระบบหลอดเลือดและน้ำเหลือง
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมักมีอาการปวดในเวลากลางคืนปวด ไม่ทุเลาแม้พักการใช้งาน ถ้ามีการแพร่กระจายมา ที่กระดูกขาจะมีอาการปวดเวลาเดินลงน้ำหนัก ในบางรายอาจมีกระดูกหักผ่านรอยโรคเนื่องจาก ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจากการโดนทำลาย (ปวดมากขึ้น อาจเดินไม่ได้บวมบริเวณกระดูกที่หัก) อาจพบก้อนได้และอาจมีการขยับข้อได้น้อยกว่าปกติ
การวินิจฉัยขั้นต่อไป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการมักไม่ค่อยช่วยการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามควรได้รับการส่งตรวจเลือดและปัสสาวะ โดยเฉพาะการดูภาวะซีดและภาวะการมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง
การตรวจด้วยภาพรังสี 2 แนว ถือเป็น การตรวจทางรังสีวิทยาที่สำคัญที่สุด โดยถ่ายภาพให้ครอบคลุมตลอดแนวความยาวของกระดูก ซึ่งจะเห็นลักษณะการทำลายและสร้างกระดูก นอกจากนี้ตามดุลุยพินิจของแพทย์ อาจส่งตรวจภาพรังสีแบบสำรวจ (bone scan) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan) หรือคลื่นแมเ่หล็กไฟฟ้า(MRI) เพื่อดูรายละเอียดการทำลาย การส่งตรวจอื่นๆจะช่วยจัดระยะโรค เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด เป็นต้น
ผู้ป่วยจะได้รับการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งตรวจ ทางพยาธิวิทยาเพื่อพิสจูน์ว่าไม่ได้เป็นมะเร็งกระดูกปฐมภูมิชนิดอื่น
หลักการรักษาผู้ป่วยมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก
ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบ ประคับประคองโดยมีวัตุประสงค์เพื่อลดอาการปวด ป้องกันกระดูกหัก รวมทั้งการกดทับของเส้นประสาทและไขสันหลังโดยมีวิธีการรักษาที่ ประกอบด้วย
การให้ยาระงับปวด
โดยบริหารยาตามเวลาและเพิ่มเติมให้เป็นครั้งคราวเมื่อปวดมาก และอาจจำเป็นต้องใช้การฉีดยาเข้าเส้นประสาทโดยตรงร่วมด้วย
การรักษาทั่วร่างกาย (Systemic therapy)
การรักษาเฉพาะที่
การฉายรังสีรักษาสามารถลดอาการปวดได้ ถึง 50-90% โดยลดการอักเสบและช่วยให้มีการ สร้างกระดูก มักให้รังสีขนาด 30Gy โดยแบ่งให้ประมาณ 10 ครั้ง
การรักษาด้วยคลื่นความถี่สูง/ด้วยความเย็น สามารถทำลายก้อนมะเร็งโดยการใช้เข็มแทง ผ่านผิวหนังเข้าไปในก้อนมะเร็ง แล้วกระตุ้นให้เกิดคลื่นความถี่สูง/ความเย็น
การรักษาโดยการผ่าตัด
จุดประสงค์เพื่อลดปวดให้ผู้ป่วยและสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ได้แก่ การผ่าตัดดามโลหะ หรือเปลี่ยนข้อเทียมเพื่อป้องกันภาวะกระดูกหัก โดยพิจารณาจากอาการปวดและรอยโรค
โดยทั่วไปภายหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ำหนักได้ทันที เนื่องจากผ่าตดัดสริมความแข็งแรงด้วยซีเมนต์บริเวณช่องในกระดูก