ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งในช่วงวัยเจริญเติบโตของเด็กคือ เท้าชี้เข้าในหรือแปออก นอกปัญหานี้ โดยทั่วไปเป็นพัฒนาการปกติและเท้ามักจะเจริญกลับมาอยู่ในท่าปกติเมื่อเด็กโตขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ
อะไรเป็นสาเหตุที่พบบ่อย
1.เท้าแปออกนอก มักพบในช่วงวัย 12 เดือนแรกหลังคลอดเกิด
เนื่องจากท่าของสะโพกเด็กในครรภ์มารดาหาย ได้เองโดยไม่ต้ องรักษา
2.เท้าชี้เข้าใน เป็นได้จากหลายสาเหตุคือ
2.1 ปัญหาของเท้า (Metatarsus Adductus)
เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในวัยแรกเกิดถึงอายุ 1 ปี เท้าจะโค้งชี้เข้าหากัน เชื่อว่าเกิดจากท่าของเด็กในครรภ์มารดาหรือจากกรรมพันธ์ุ หากถ้ามีปัญหาไม่มาก ส่วนใหญ่แล้วเท้าจะเจริญจนมี ลักษณะปกติได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษาใดๆ หากเท้าผิดรูปมาก อาจต้องรักษาโดยการใส่เฝือก
2.2 ปัญหาของกระดูกหน้าแข้ง (Internal Tibial Torsion) พบบ่อยในวัย 1-3 ปีเมื่อเด็กเริ่มหัดเดิน กระดูกหน้าแข้งบิดเข้า ทำให้เท้ามีลักษณะชี้เข้าเวลาเดิน เชื่อว่าเกิดจากท่าของเด็กในครรภ์มารดา หรือจากกรรมพันธ์ุ ลักษณะกระดูกหน้าแข้งบิด ตามพัฒนาการปกตินี้โดยทั่วไปจะดีขึ้นเองหลังอายุ 4 ปี
2.3 ปัญหาของกระดูกขาส่วนต้น (Femoral Antetorsion)
พบว่ากระดูกขาส่วนต้นบิดมากเมื่อนั่งกับพื้น เด็กจะชอบนั่งเอาขาแบะออก ลักษณะเหมือน ตัวอักษร “W” จะค่อยๆดีขึ้นเองเมื่ออายุมากกว่าสองกรณีแรกคือ หลังอายุ 9 ปี
จะรักษาอย่างไร
การเฝ้าสังเกตการพัฒนาของขาเด็ก เป็นการรักษาที่ดีที่สุดของทั้ง 2 ภาวะดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่อาจจะถ่ายรูปเท้าเด็กไว้เพื่อเปรียบเทียบกันทุกๆปี มีความจำเป็นน้อยมากที่จะต้องรักษาโดยการผ่าตัด คุณหมออาจพิจารณาผ่าตัดในเด็กที่มีอายมุากกว่า 10ปี แต่ยังมีความผิดปกติมากจนเป็นปัญหาในการเดิน
เกร็ดน่ารู้
1.เท้าชี้เข้าในหรือแปออกนอกส่วนใหญ่ เป็นพัฒนาการปกติของเท้าและขาในช่วงวัยเด็ก
2.การใส่รองเท้าพิเศษใส่เหล็กดามหรือการดัดเท้าเด็ก ไม่มีความจำเป็น หากเป็นพัฒนาการปกติ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวไม่ได้ผลและทำให้เด็กรู้สึกไม่สบาย
3.การวิ่งเล่นแล้วหกล้มบ่อย เป็นลักษณะของเด็กวัยนี้ มักไม่เกี่ยวข้องกับการชี้เข้าหรือออกของเท้า
4.การนั่งในลักษณะ W ไม่มีข้อพิสูจน์ว่า ทำให้กระดูกบิดมากขึ้น
5.การที่มีเท้าชี้เข้าไม่ได้ขัดขวางการเดิน การวิ่ง หรือการออกกำลังกายใดๆ